พันจัน ทนุมาศ (เจิม). 2559. พระราชพงศาวดาร
(DS577 พ46 2559) พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) เป็นเอกสารประวัติศาสตร์ ต้นฉบับเป็นสมุดไทย เขียนขึ้นในสมัยกรุงธนบุรีต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พิมพ์ครั้งแรกใน ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๔ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๙ เนื้อความเริ่มต้นตั้งแต่สถาปนากรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยามาจนกระทั่งกรุงแตก สิ้นสมัยอยุธยา นับเป็นเอกสารหลักเล่มหนึ่งในการศึกษาประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา ซึ่งกินเวลาหลายร้อยปี นอกจากพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ดังกล่าวแล้ว พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเล่มนี้ ยังรวบรวมเอกสารสำคัญ ซึ่งเขียนในสมัยอยุธยา คือ พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐ อันนับเป็นเอกสารร่วมสมัยเพียงจำนวนน้อยที่หลงเหลืออยู่ โดยพงศาวดารฉบับนี้นอกจากมีความสำคัญในฐานะเอกสารร่วมสมัยแล้ว ยังถือกันว่าบันทึกศักราชไว้ถูกต้องแม่นยำที่สุดอีกด้วย และมักใช้เป็นฉบับสอบเทียบกับฉบับอื่นๆ และเรื่องราวที่บันทึกคำบอกเล่าเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยาโดยผู้คนในสมัยอยุธยา คือ คำให้การชาวกรุงเก่า และ คำให้การขุนหลวงหาวัด ซึ่งล้วนเป็นเอกสารสำคัญในการศึกษาเรื่องราวสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเฉพาะวีรกรรมของสมเด็นพระนเรศวรมหาราช หนังสือภาษาไทย ชั้น 5
หนังสือเล่มนี้อยู่ที่ไหน คลิกที่นี่ |
- Hits: 14645